ศ. นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก “Thiravat Hemachudha” แนะนำ 3 ขึ้นตอนเพื่อประเมินและป้องกันโควิด-19 ระบาดระลอก 2 โดยระบุว่า
การประเมินความเสี่ยงที่จะมีการติด – แพร่ – จนถึงระบาด…หรือไม่?
ความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรักษาวินัย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อระหว่างบุคคลจนเป็นลูกโซ่ พร้อมด้วยศักยภาพในการประเมินสถานการณ์อย่างรวดเร็วและทันถ่วงที โดยต้อง…
1. สามารถระบุยืนยันตัวและกักตัวผู้ติดเชื้อที่มีอาการได้อย่างครบถ้วน
ทั้งที่มีอาการแบบปกติ (ไข้ ไอ อ่อนเพลีย) และไม่ปกติ เช่น แสดงอาการออกไปทางระบบอื่น รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและทำงานให้บริการสาธารณะ เช่น คนขับรถประจำทาง ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อต่อได้สูง แนะนำการตรวจแยงจมูกด้วยวิธี PCR
2. การตรวจคัดกรอง (Screening)
อาจมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แม้บุคคลนั้นๆ จะไม่มีการแสดงอาการผิดปกติใดๆ ก็ตาม แต่ก็มีโอกาสที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในพื้นที่จำกัดหรือมีผู้คนอยู่ด้วยกันจำนวนมากเป็นเวลาหลายชั่วโมง เช่น สถานศึกษา
ในกรณีเช่นนี้ บุคคลดังกล่าวจะต้องระวังตัวสูงสุด 4 วันก่อนหน้า ที่จะทำกิจกรรม เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้รับเชื้อเข้ามา และ ณ วันที่ทำกิจกรรม บุคคลนั้นจะต้องได้รับการประเมินสถานะการติดเชื้อก่อน (นั่นคือ มีการติดเชื้อมาก่อนหน้า 4 วันนี้หรือนานกว่านั้นหรือไม่) ด้วยการ “เจาะเลือดตรวจภูมิคุ้มกัน”
ทั้งนี้เนื่องจากภูมิคุ้มกันลำดับที่หนึ่ง ที่เรียกว่า IgM จะปรากฎตัวขึ้นหลังจากการติดเชื้อแล้วประมาณ 4-6 วัน โดยถ้าตรวจพบ IgM แล้ว บุคคลนั้นจะต้องเฝ้าระวังต่อไปว่าอาการจะรุนแรงหรือไม่ ซึ่งช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้มาก ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจยืนยันด้วยวิธีแยงจมูก (PCR) ด้วย และจะต้องถูกกักตัว 14 วันเพื่อยืนยันว่า จะไม่มีการแพร่กระจายเชื้อต่อ แล้วจึงสามารถกักตัวที่บ้านต่ออีก 14 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีเชื้อกระจายออกมาอีก
ในกรณีที่เจาะเลือด แล้วผลออกมาเป็นภูมิคุ้มกันลำดับที่สองที่เรียกว่า IgG แสดงว่ามีการติดเชื้อมาแล้วระยะหนึ่ง อย่างน้อย 12-14 วัน แม้ว่าความเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตจะน้อยกว่า แต่ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ ในกรณีนี้ อาจจำเป็นต้องให้กักตัวที่บ้านเพื่อเฝ้าระวังการแพร่เชื้อ 14 วัน
ลักษณะของภูมิลำดับที่สองนี้เป็นภูมิที่สำคัญ ควรมีการตรวจหาว่า ภูมิ IgG นี้มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อ (Neutralizing antibody) ได้มากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ยังไม่มีการศึกษาบอกว่าภูมินี้จะอยู่ได้นานเพียงใด และ “ระบบภูมิคุ้มกันความจำ” (Memory immune) ของร่างกายจะทำงานได้ดีเพียงใด ซี่งถ้าระบบภูมิคุ้มกันความจำทำงานได้ดี แม้ว่าจะมีการติดเชื้อซ้ำ ร่างกายก็จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันมาสู้กับไวรัสได้ทันที
ลักษณะของการตรวจเช่นนี้ อาจต้องมีการประเมินเป็นระยะ เพื่อสะท้อนให้เห็นระบบและระเบียบวินัยในการป้องกันโรคว่ายังคงเข้มแข็งอยู่หรือไม่
3. การประเมินภาพรวมทั้งประเทศว่ามีการติดเชื้อมากมายเพียงใดแล้ว
ขั้นตอนนี้ เป็นประโยชน์ในการวางแผนการฉีดวัคซีนในคนที่ไม่เคยมีประวัติการติดเชื้อมากก่อน ด้วยวิธีการเจาะเลือดตรวจหาภูมิคุ้มกัน หรือใช้วิธีแยงจมูก 10 คนและตรวจผลเพียงครั้งเดียว (Sample pooling PCR) เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยกรณีที่การติดเชื้อที่กำลังแพร่ อยู่ในระดับไม่สูงมาก ประมาณ 1-2%
อ้างอิง : (คณะทำงาน ศูนย์โรคติดต่ออุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์สภากาชาดไทยโรงพยาบาลจุฬา. วารสาร j Med Virol 2020 )
Add Friend Follow"ป้องกัน" - Google News
June 04, 2020 at 02:08AM
https://ift.tt/3dzlI8B
ป้องกันโควิด-19 'ระลอก 2' ง่ายๆ แค่ 3 ขั้นตอน - thebangkokinsight.com
"ป้องกัน" - Google News
https://ift.tt/3abF4OL
Home To Blog
No comments:
Post a Comment