Credit : Nishiyama K. et al., Sensors and Actuators B: Chemical. April 21, 2020
ไข้หวัดนกเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่ง การตอบสนองจะเริ่มต้นอย่างรวดเร็วในคนที่สงสัยว่าติดเชื้อ การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยทั่วไปแล้วมักใช้การเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมด้วยเทคนิค Polymerase chainreaction (PCR) ในการตรวจหาข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดหรือจีโนมของไวรัส แต่กระบวนการนี้มีความซับซ้อนและใช้เวลานานพอสมควร
อีกวิธีหนึ่งก็คือการตรวจหาแอนติบอดี หรือสารภูมิต้านทานที่ผลิตในร่างกายเพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อไวรัส ทว่าวิธีการตรวจหาแอนติบอดีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอาจยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจ เพราะการมีอยู่ของแอนติบอดีจะถูกกำหนดโดยความสามารถในการมองเห็น ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ในญี่ปุ่น เผยประสบความสำเร็จในการตรวจหาแอนติบอดีไวรัสไข้หวัดนกในน้ำเหลืองของเลือดได้ภายใน 20 นาที ทีมได้พัฒนาสร้างเครื่องวิเคราะห์แบบพกพาน้ำหนัก 5.5 กิโลกรัม วิธีการนี้ใช้การวัด fluorescence polarization immunoassay (FPIA) แบบดั้งเดิม แต่กลไกการวัดนั้นแตกต่างกัน
นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้พัฒนาตัวทำปฏิกิริยาเพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อต้านไวรัสไข้หวัดนกชนิดเอช ไฟว์ (H5) ซึ่งหากมีการพัฒนาตัวทำปฏิกิริยาที่เหมาะสม เทคโนโลยีนี้ก็สามารถนำไปใช้ตรวจจับแอนติบอดีต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคโควิด-ไนน์ทีน (COVID-19) ได้.
อ่านเพิ่มเติม...
"ป้องกัน" - Google News
June 01, 2020 at 08:01PM
https://ift.tt/2zJAn2B
ตรวจจับสารภูมิต้านทานป้องกันไวรัส - ไทยรัฐ
"ป้องกัน" - Google News
https://ift.tt/3abF4OL
Home To Blog
No comments:
Post a Comment