บ้านก็ไม่ต่างอะไรกับสุขภาพร่างกายของเรา ที่นานวันเข้าก็ย่อมเสื่อมโทรมลงไป ยิ่งต้องเผชิญกับหน้าฝนที่มีทั้งลมและน้ำ ยิ่งซ้ำเติมปัญหาสุขภาพความแข็งแรงของบ้านให้อ่อนแอลงได้ เพื่อการรักษาสุขภาพและดูแลบ้านให้แข็งแรงปลอดโรคภัย ผู้อยู่อาศัยจึงจำเป็นต้องตรวจสอบและแก้ไขให้บ้านแสนรักของเรารับมือหน้าฝนได้ โดยเฉพาะ 3 ปัญหาเกี่ยวกับบ้านเหล่านี้
1.ปัญหาน้ำเข้าทางหน้าต่าง-ประตู
มักจะเป็นปัญหาหลังจากการใช้งานจริงไปช่วงหนึ่ง อาจเกิดความเสื่อมของวัสดุโดยเฉพาะไม้ธรรมชาติที่มีการยืดหดตัว หรือปลวกกัดกิน จึงควรหมั่นเฝ้าระวังอยู่เสมอ โดยตรวจสอบดังนี้
- ตรวจสอบรอยแตกร้าว โดยเฉพาะส่วนที่วงกบและผนังปูนสัมผัสกัน ควรอุดซิลิโคน ทำบัวรอบหน้าต่างให้เรียบร้อย หรือทำกันสาดเพิ่มที่หน้าต่างก็จะช่วยป้องกันฝนสาดและน้ำซึมได้
- ตรวจสอบรอยแยกของประตู-หน้าต่าง หากมีรอยแยกระหว่างกรอบบานกับวงกบ หรือรอยแตกบริเวณวงกบมาจากการติดตั้งที่ไม่เรียบร้อย ซ่อมแซมด้วยการเติมซิลิโคนตรงรอยต่อระหว่างผนังกับวงกบ
ทั้งนี้ มักพบรอยรั่วบริเวณประตู-หน้าต่างบ่อยครั้ง ปัญหาซิลิโคนที่เริ่มแตกตามกรอบ ตามสกรูที่ยึดไว้ ช่องว่างระหว่างบานกับกรอบหน้าต่าง ตลอดจนการระบายน้ำไม่เพียงพอ ก่อเกิดให้น้ำขังอยู่ที่หน้าต่าง แล้วไหลซึมเข้าตัวบ้าน
วิธีการแก้ไข
ลองพิจารณาทางเลือกที่แก้ไขปัญหาในระยะยาว และช่วยสร้างความสวยงามให้กับบ้านด้วยการเปลี่ยนวงกบประตู-หน้าต่างใหม่เป็นวัสดุที่คงทนกว่า เช่น อะลูมิเนียม หรือไวนิล โดยผู้ผลิตหน้าต่างประตูไวนิล เดี๋ยวนี้มีบริการรื้อและติดตั้งเสร็จภายในวันเดียว ช่วยให้เจ้าของบ้านสะดวกได้มากทีเดียว
หน้าต่างบ้านเป็นจุดที่รับทั้งแดด และฝนโดยตรง การเพิ่มบัวหน้าต่าง การใช้ซิลิโคน หรือกาวพียูในการยาแนวรอยต่อ ช่วยป้องกันปัญหาได้ หากเพิ่มการตกแต่งผิวผนังด้วยไม้เทียม ก็ช่วยเพิ่มความสะดวกในการดูแลรักษาผนังด้านนั้นให้สวยนานขึ้น
หน้าต่างบ้านเป็นจุดที่รับทั้งแดด และฝนโดยตรง การเพิ่มบัวหน้าต่าง การใช้ซิลิโคน หรือกาวพียูในการยาแนวรอยต่อ ช่วยป้องกันปัญหาได้ หากเพิ่มการตกแต่งผิวผนังด้วยไม้เทียม ก็ช่วยเพิ่มความสะดวกในการดูแลรักษาผนังด้านนั้นให้สวยนานขึ้น
2. ปัญหาน้ำรั่วทางหลังคา
- ตรวจสอบบริเวณสันหลังคา หรือสันตะเข้ หากครอบสันหลังคาแตกร้าว หรือมีรอยแตกกะเทาะของปูนใต้ครอบ ให้ซ่อมแซมให้เรียบร้อย การใช้ปูนพอกอุดรอยรั่วมักจะเกิดปัญหาซ้ำ การแก้ไขปัญหาในระยะยาว คือการรื้อครอบหลังคาแล้วเปลี่ยนใหม่ ติดตั้งให้ถูกวิธี และใช้อุปกรณ์หลังคาที่ได้มาตรฐาน
- ตรวจสอบรางน้ำฝน อย่าให้อุดตัน น้ำเอ่อล้น หรือผุกร่อนเป็นสนิม ให้ทำความสะอาด เอาเศษใบไม้ออกจากรางน้ำ ตลอดจนถึงฝาท่อระบายน้ำ
- ตรวจสอบโครงสร้างหลังคา ว่ามีการโก่ง หรือแอ่นตัว หรือไม่ หากเกิดปัญหาถือว่าปัญหาใหญ่ของส่วนหลังคา
วิธีการแก้ไข
ปัญหารางน้ำผุกร่อน มักเกิดที่บ้านอยู่ใกล้ทะเล ไอทะเลที่มีซัลเฟตจะทำปฏิกิริยาผุกร่อนกับรางตะเข้ ส่วนเรื่องน้ำล้นราง มักเกิดกับบ้านที่รางตะเข้ไม่กว้างพอ วิธีแก้ไขทั้งสองปัญหา คือ เปลี่ยนรางน้ำตะเข้ใหม่ตลอดทั้งแนว ตรวจสอบว่ารางตะเข้ใหม่มีความกว้างและรองรับน้ำได้เพียงพอ
นอกจากนี้ การเลือกติดตั้งครอบสันหลังคาด้วยอุปกรณ์ยึดครอบหลังคาระบบแห้ง (Dry-Tech System) แทนการใช้ปูนปั้นก็ช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับการเลือกใช้รางน้ำตะเข้สำเร็จรูป ที่มีการเคลือบกัลวาไนซ์ กันสนิมได้มาตรฐาน หรือใช้รางน้ำสแตนเลส ที่ปลอดสนิมตลอดอายุการใช้งาน แทนการใช้รางน้ำสังกะสี ที่ไม่ได้มาตรฐาน และเสี่ยงกับการเป็นสนิมในภายหลัง
ส่วนการแก้ปัญหาโครงสร้างหลังคาโก่ง หรือแอ่นตัว ต้องรื้อกระเบื้องหลังคาออกมา เพื่อซ่อมแซม หรือเปลี่ยนให้เรียบร้อย ก่อนมุงกระเบื้องทับอีกครั้ง
3. ปัญหาฝ้าบวม และขึ้นราจากน้ำรั่วซึมผ่านหลังคา
เป็นการป้องกันปัญหาต่อเนื่องจากส่วนของหลังคา ที่มักส่งผลต่อฝ้าเพดานในบ้านด้วยเช่นกัน ซึ่งลักษณะของการแก้ปัญหาจะแบ่งตามวิธีการติดตั้งฝ้าเป็นหลัก คือ
- ฝ้าเว้นร่อง หรือฝ้าที-บาร์ หากเกิดการบวมน้ำ แตกเสียหาย หรือขึ้นรา แก้ไขโดยถอดฝ้าแผ่นที่จะเปลี่ยนออก เช็คโครงคร่าวๆ ที่รองรับแผ่นฝ้า หากชำรุด ผุกร่อนให้ซ่อมแซมก่อนจะนำฝ้าแผ่นใหม่มาเปลี่ยน
- ฝ้าฉาบเรียบ แก้ไขด้วยการกรีด เจาะ แผ่นฝ้าที่เสียหายออก อาจจะต้องเสริมโครงเหล็กฝ้าเพิ่มเพื่อสกรูยึดฝ้าเพดานแผ่นใหม่ที่ตัดมาพอดีแทนที่แผ่นที่รื้อออกไป หรือถ้ามีโครงฝ้าในจุดที่ต้องการเปลี่ยนอยู่แล้วก็สกรูยึดเข้ากับโครงเดิมได้ จากนั้นใช้ปูนยิปซั่มฉาบแต่งแนวรอยต่อระหว่างฝ้าแผ่นใหม่ กับฝ้าเพดานเดิม โดยเสริมด้วยเทปผ้าตามแนวรอยต่อ ฉาบ และขัดแต่งรอยต่อด้วยกระดาษทราย จนได้รอยต่อที่เรียบ แล้วจึงทาสีทับ ให้เนียนเรียบเสมอกันทั้งผืน
การใช้โครงหลังคาสำเร็จรูป หรือ TRUSS ที่มีการออกแบบและติดตั้งจากผู้ผลิตโดยตรง ก็เป็นทางเลือกที่อุ่นใจอีกทางเลือกหนึ่ง ทั้งในแง่ของการกันรั่ว หรือกระเบื้องหลังคาปลิวจากแรงลมพายุ
การตรวจสอบบ้านที่กล่าวมานี้ เป็นวิธีการป้องกันปัญหาที่มักจะพบได้บ่อยในช่วงหน้าฝน ถือเป็นการดูแลบ้านที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง เป็นการแก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาในอนาคต ทั้งนี้ ผู้อยู่อาศัยควรหมั่นตรวจสอบสภาพบ้านของเราอยู่เสมอ เพื่อรักษาสุขภาพที่แข็งแรงของทั้งตัวบ้านเพื่อให้บ้านอยู่กับเราไปอีกนาน ๆ
"ป้องกัน" - Google News
July 30, 2020 at 05:38AM
https://ift.tt/30USA6w
รับมือ 3 ปัญหาเรื่องบ้านช่วงหน้าฝน ป้องกันได้เพียงแค่เช็ก - Sanook
"ป้องกัน" - Google News
https://ift.tt/3abF4OL
Home To Blog
No comments:
Post a Comment