ความทะเยอทะยานที่จะส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคาร ได้ก่อเกิดความท้าทายทางเทคนิคหลายประการที่นักวิทยาศาสตร์อยากเอาชนะหนึ่งในปัญหาที่ยากเย็นที่สุดก็คือการปกป้องนักบินอวกาศจากรังสีที่รุนแรงเมื่อพวกเขาต้องรอนแรมเดินทางไกล เมื่อพ้นจากบรรยากาศโลกที่เป็นตัวป้องกันรังสีจากอวกาศและสนามแม่เหล็กโลก
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลนาและมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในสหรัฐอเมริกา จึงมองหาวิธีที่จะปกป้องนักบินอวกาศให้ได้ ล่าสุด ทีมเผยว่าจากการวิจัยเชื้อราบางชนิดที่พบว่าสามารถเจริญเติบโตได้ในที่ที่มีกัมมันตภาพรังสีสูงบนโลก และพื้นที่แห่งนั้นก็คือในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ถูกทำลายไปบางส่วน ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในยูเครน ซึ่งจากการทดสอบเชื้อราหลายชนิดแสดงให้เห็นว่าพวกมันไม่เพียงอยู่รอดได้ในอดีตเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แต่ยังมีศักยภาพดูดซับรังสีและเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อการใช้งานของตัวมันเอง
ทีมจึงจัดส่งตัวอย่างเชื้อราชนิด Cladosporium sphaerospermum ที่พบในเชอร์โนบิลให้กับองค์การนาซาเพื่อส่งไปให้นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติวิจัยต่อ นักบินอวกาศบนนั้นเผยว่าได้วิจัยเชื้อราในจานเพาะเชื้อเป็นเวลา 30 วัน และพบว่าด้านข้างของจานเลี้ยงที่ปกคลุมด้วยเชื้อรา เห็นผลการลดระดับรังสีผ่านจานลงราว 2% การทดลองนี้บ่งชี้ถึงสิ่งที่อาจเป็นไปได้ต่อการพัฒนาสร้างเกราะป้องกันรังสีสำหรับมนุษย์ในอนาคต.
(Credit ภาพ : Pixabay/CC0 Public Domain)
อ่านเพิ่มเติม...
"ป้องกัน" - Google News
August 02, 2020 at 06:01PM
https://ift.tt/3fk5GiZ
พัฒนาป้องกันรังสีสำหรับนักบินอวกาศ - ไทยรัฐ
"ป้องกัน" - Google News
https://ift.tt/3abF4OL
Home To Blog
No comments:
Post a Comment