Pages

Wednesday, September 9, 2020

กรมอนามัย เปิดตัวไลน์ TEEN CLUB คุยกับเยาวชน ป้องกันท้องไม่พร้อม - ประชาชาติธุรกิจ

gugurbulu.blogspot.com
นายแพทย์มนัส รามเกียรติศักดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

กรมอนามัย เดินหน้าแก้ไขปัญหาท้องไม่พร้อมในกลุ่มเด็กและเยาวชน เปิดตัวไลน์ TEEN CLUB สื่อสารกับเด็กรุ่นใหม่ เข้าใจเรื่องเพศศึกษาที่ถูกต้อง พร้อมบริการคุมกำเนิดฟรี

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เดินหน้าแก้ไขปัญหาท้องไม่พร้อมในกลุ่มเด็กและเยาวชน เปิดตัว Line Official Account TEEN CLUB เพื่อสื่อสารกับเด็กรุ่นใหม่ ส่งเสริมการเข้าถึงความรู้และความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาที่ถูกต้อง พร้อมขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การวางแผนครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ด้วยการมอบบริการคุมกำเนิดด้วยการใส่ห่วงอนามัยและฝังยาคุมกำเนิดฟรี เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 20 กันยายนของทุกปี

วางแผนครอบครัวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

“นพ.มนัส รามเกียรติศักดิ์” รองผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมอนามัยมีความพยายามในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาท้องไม่พร้อมในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยสอดคล้องกับแนวทางการประชุมระหว่างประเทศเรื่องประชากรและการพัฒนา หรือ ICPD – The International Conference in Population and Development และเรื่องสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG เป้าหมายที่ 3.7.1 ที่มุ่งเน้นให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีความต้องการเรื่องการวางแผนครอบครัวพอใจกับการคุมกำเนิดสมัยใหม่ด้วย

“ปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจเป็นหนึ่งในปัญหาที่ทำลายอนาคตที่สดใสของวัยรุ่นไทยมาเป็นเวลานาน ทั้งยังส่งผลกระทบในเชิงลบไปยังสังคมและเศรษฐกิจในภาพรวม”

เกิดน้อยไป – ท้องก่อนวัย

จากข้อมูลของกรมอนามัยพบว่า สถานการณ์ด้านประชากรของไทยนั้นมีหลัก ๆ 2 ส่วน ปัญหาส่วนที่ 1 คือ ปัญหาการเกิดน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จในงานวางแผนครอบครัว และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยคนรุ่นใหม่นิยมอยู่เป็นโสดมากขึ้น ส่งผลให้อัตราการเพิ่มของประชากรลดลงจากร้อยละ 2.7 ในปี 2513 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.2 ในปี 2562 โดยผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 15 – 49 ปี มีบุตรเฉลี่ยเพียง 1.54 คน ซึ่งต่ำกว่าระดับทดแทน และอัตราการเกิดมีเพียง 10.5 ต่อประชากรพันคน

ปัญหาส่วนที่ 2 คือปัญหาการเกิดที่ด้อยคุณภาพ โดยในปี 2562 ที่ผ่านมา พบว่าวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 169 คน ส่วนวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 15 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 6 คน ในปีเดียวกันนั้น มีจำนวนผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีให้กำเนิดบุตรทั้งหมดจำนวน 63,831 คน แบ่งเป็นอายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวน 61,651 คน และต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 2,180 คน และยังพบว่ามีผู้หญิงที่อายุต่ำว่า 20 ปีที่มีการตั้งครรภ์ซ้ำและให้กำเนิดบุตรอีกถึง 5,222 ราย

แม้รัฐบาลจะมีนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพเพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น แต่วัยรุ่นไทยกยังไม่สามารถเข้ารับบริการด้านการคุมกำเนิดได้อย่างทั่วถึง

เห็นได้จากรายงานวิจัยเรื่องการบริหารจัดการระบบงานวางแผนครอบครัวของประเทศไทยปี พ.ศ. 2553 ที่พบว่ามีโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนเพียงร้อยละ 36.6 เท่านั้นที่มีการจัดซื้อเวชภัณฑ์คุมกำเนิดแบบกึ่งถาวร คือห่วงอนามัยและยาฝังคุมกำเนิด และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนำว่าควรใช้ร่วมกับถุงยางอนามัยเป็นทางเลือกแรกในการคุมกำเนิดในกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากสามารถคุมกำเนิดได้ในระยะเวลานาน 3, 5 และ 10 ปี และมีประสิทธิภาพสูงกว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นไทย

เยาวชนถูกตีตราในทางลบ

อีกปัญหาหนึ่งที่รายงานดังกล่าวระบุว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้วัยรุ่นไทยเข้าไม่ถึงบริการคุมกำเนิด คือ การถูกตีตราในทางลบจากผู้ให้บริการ อีกทั้งภาพจำของสังคมในเชิงลบต่อเด็กที่เข้ารับการคุมกำเนิดก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ

ด้วยเหตุนี้ กรมอนามัยจึงได้เปิดตัว Line Official Account TEEN CLUB เพื่อเป็นช่องทางให้คนทั่วไป โดยเฉพาะวัยรุ่น ได้เข้าถึงความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ การคุมกำเนิด สิทธิและข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์กับวัยรุ่น

โดย TEEN CLUB จะเป็นศูนย์กลางความรู้เกี่ยวกับที่วัยรุ่นมักมีข้อสงสัยแต่อาจจะไม่กล้าถามใคร ทั้งในรูปแบบบทความและวิดีโอ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เช็กสิทธิในการเข้ารับบริการด้านการคุมกำเนิด ค้นหาสถานบริการที่ให้บริการคุมกำเนิด มีฟีเจอร์บันทึกประจำเดือนช่วยเช็กการมาของรอบเดือน และยังมีบริการสายด่วน 1663 และ Chat Bot ตอบคำถามเพื่อวัยรุ่นโดยเฉพาะ ผู้สนใจสามารถแอดไลน์ TEEN CLUB ได้ที่ @teen_club

นอกจากการสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว กรมอนามัยยังร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขับเคลื่อนนโยบายการป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมและการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ด้วยการสนับสนุนค่าบริการคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวร ด้วยการใส่ห่วงอนามัยและฝังยาคุมกำเนิดแก่วัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และในหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 20 ปีขึ้นไปในกรณีหลังยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย รวมทั้งการสนับสนุนค่าบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยให้กับสถานบริการเครือข่ายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทั่วประเทศ

การให้ความสำคัญกับเยาวชน ทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจและการให้บริการด้านการคุมกำเนิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในสังคมว่าการคุมกำเนิดไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่เป็นสิ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเช่นเดียวกัน

Let's block ads! (Why?)



"ป้องกัน" - Google News
September 09, 2020 at 03:18AM
https://ift.tt/2Zmlv3B

กรมอนามัย เปิดตัวไลน์ TEEN CLUB คุยกับเยาวชน ป้องกันท้องไม่พร้อม - ประชาชาติธุรกิจ
"ป้องกัน" - Google News
https://ift.tt/3abF4OL
Home To Blog

No comments:

Post a Comment