-
การแพ้ขนแมว เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากน้ำลายและผิวหนังของแมว ซึ่งเมื่อสูดดมสารดังกล่าวเข้าไปก็อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ และอนุภาคของสารก่อภูมิแพ้นั้นสามารถติดไปกับเสื้อผ้า ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่ไม่ได้เลี้ยงแมวก็อาจจะมีอาการแพ้ขนแมวได้เช่นกัน
-
อาการของการแพ้ขนแมว คือบวมและคันเนื้อเยื่อรอบดวงตาและจมูก ในบางรายอาจมีผื่นที่ใบหน้า คอ หรือ หน้าอกส่วนบน
-
การไม่เลี้ยงแมวเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันการแพ้ขน แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็ควรเลือกที่จะป้องกันเพื่อลดอาการแพ้ เช่น การหมั่นทำความสะอาดและดูดฝุ่นภายในบริเวณบ้านเพื่อกำจัดขนแมว และสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ
กองทุนระหว่างประเทศเพื่อสวัสดิการสัตว์ (International Fund for Animal Welfare) กำหนดให้วันที่ 8 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันแมวสากล หรือ วันแมวโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 โดยมีเป้าหมายของวันนี้เพื่อกระตุ้นความตระหนักรู้เกี่ยวกับแมว ในขณะเดียวกันแมวก็เป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถทำให้ผู้เลี้ยงมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น บรรเทาความเครียดความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าได้ แต่ก็มีผู้เลี้ยงจำนวนไม่น้อยที่เกิดอาการแพ้แมว
นพ.ภก.สุรสฤษดิ์ ขาวละออ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก รพ.สมิติเวช สุขุมวิท ระบุว่า การแพ้แมวเป็นหนึ่งในอาการแพ้ที่พบบ่อย จากการสำรวจพบว่าเกือบหนึ่งในสามของชาวอเมริกันที่เป็นภูมิแพ้ มีอาการแพ้แมวและสุนัข และพบว่ามีผู้ที่มีอาการแพ้แมวมากกว่าผู้ที่มีอาการแพ้สุนัขถึง 2 เท่า ในขณะที่คนไทยเมื่อปี 2018 มีการเก็บข้อมูลในคลินิกโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่า คนไทยแพ้แมว 12.9% และ แพ้สุนัข 10% เท่านั้น
การระบุสาเหตุของการแพ้ อาจเป็นเรื่องยาก นั่นเป็นเพราะภายในบ้านมีสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น ไรฝุ่น ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้คล้ายกัน เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับคนรักสัตว์เลี้ยง ที่จะต้องยอมรับว่าแมวที่เลี้ยงนั้นกำลังก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ หลายคนก็ยังเลือกที่จะอยู่กับสัตว์เลี้ยงที่รักภายในบ้าน แทนการหลีกเลี่ยงหรือการย้ายสัตว์เลี้ยงออกห่างจากตัว
สาเหตุของการแพ้ขนแมว
การแพ้ขนแมวอาจมีที่มาจากสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากน้ำลายและผิวหนังของแมว เพราะสารก่อภูมิแพ้อาจติดมากับขนแมวขณะที่แมวเลียขนตัวเอง แล้วขนก็อาจจะลอยขึ้นไปในอากาศ ซึ่งเมื่อเราสูดดมสารดังกล่าวเข้าไปก็อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เพราะอนุภาคของสารก่อภูมิแพ้ในสัตว์เลี้ยงนั้นสามารถติดไปกับเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์และที่นอนของเรา ซึ่งนั่นก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่ไม่ได้เลี้ยงแมวก็อาจจะมีอาการแพ้ขนแมวได้เช่นกัน
อาการแพ้ขนแมว
อาการทั่วไปของการแพ้แมว จะเกิดอาการบวมและอาการคันของเนื้อเยื่อรอบดวงตาและจมูก มักจะนำไปสู่การอักเสบของดวงตา ในบางรายอาจมีผื่นที่ใบหน้า คอ หรือ หน้าอกส่วนบน นอกจากนี้บางคนจะรู้สึกคันจมูก จามบ่อย น้ำมูกไหล ระคายคอหลังจากสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ดังกล่าวจากแมว
สำหรับผู้ที่เป็นโรคหืด ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแมว เพราะมีโอกาสที่อาการจะรุนแรงขึ้น ในกรณีที่สารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในขนแมวหลุดเข้าไปในหลอดลม สารก่อภูมิแพ้จะไปกระตุ้นแอนติบอดี้บางชนิดบนผิวของเซลล์เม็ดเลือดขาวบางสายพันธุ์ ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก ไอ และหายใจเสียงดัง วี้ดๆ ซึ่งเป็นอาการกำเริบของโรคหืดเฉียบพลัน และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคหอบหืดเรื้อรังอีกด้วย มีข้อมูลว่า 30% ของผู้ที่เป็นโรคหืด อาจจะมีอาการหนักขึ้นเมื่อสัมผัสกับแมว ดังนั้นควรรีบปรึกษาอายุรแพทย์โรคภูมิแพ้เพื่อทำการรักษาที่ถูกต้อง
การตรวจวินิจฉัยอาการแพ้ขนแมว
มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ การทดสอบทางเลือด และการทดสอบทางผิวหนังโดยวิธีการสะกิด (Skin prick test) ซึ่งวิธีหลังจะให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าวิธีแรก
ยาบางชนิดที่คนไข้รับประทานอาจรบกวนต่อการทดสอบผิวหนัง ดังนั้นควรปรึกษาอายุรแพทย์โรคภูมิแพ้ก่อนการทดสอบ
วิธีป้องกันอาการแพ้ขนแมว
การไม่เลี้ยงแมวเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันการแพ้ขน แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็มีทางเลือกเพื่อลดอาการแพ้ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการเลี้ยงแมวในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องนอน
- ล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสแมว
- ถ้าในบ้านทมีการปูพรม ควรนำพรมออก เพื่อลดการสะสมของสารก่อภูมิแพ้และขนแมว
- ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศภายในบ้าน โดยเฉพาะห้องนอน
- หมั่นล้างทำความสะอาดไส้กรองแอร์ และเปลี่ยนเมื่อถึงกำหนด
- ดูดฝุ่นภายในบริเวณบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง รวมถึงของเล่นและที่นอนของเจ้าเหมียว และควรใช้หน้ากากปิดจมูกขณะปัดฝุ่น และทำความสะอาดด้วย
- เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากหนังไม่ควรทำจากผ้า เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด
- อาบน้ำให้แมวอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และแปรงขนให้แมวทุกวัน เพื่อลดเศษขนและฝุ่นละอองที่สะสมไว้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 150 นาที เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
- สำหรับผู้ที่เป็นโรคหืด ให้ใช้ยาพ่นจมูกหรือยาพ่นทางคอ เพื่อช่วยป้องกันอาการกำเริบ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการแพ้ให้เร็วที่สุด
ก่อนที่จะเลี้ยงสัตว์อะไร ไม่ว่าจะเป็น หมา แมว นก หนู กระต่าย ควรศึกษาหาข้อมูลของสัตว์แต่ละประเภทให้ดี เพื่อที่เราจะได้เข้าใจธรรมชาติของสัตว์ต่างๆ เหล่านั้นและมั่นใจได้ว่าเราจะเลี้ยงเขาให้ดีและมีความสุขได้ เพราะเราเองก็จะได้ความสุขจากการเลี้ยงเขาด้วยเช่นกัน ที่สำคัญถ้าคิดจะเอาเขามาเลี้ยง ก็ควรเลี้ยงด้วยความรับผิดชอบ ไม่ควรทิ้งๆ ขว้างๆ หรือปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นภาระของผู้อื่น
"ป้องกัน" - Google News
September 05, 2020 at 10:32PM
https://ift.tt/338BROy
อาการ "แพ้ขนแมว" สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน - Sanook
"ป้องกัน" - Google News
https://ift.tt/3abF4OL
Home To Blog
No comments:
Post a Comment